มะเร็งปากมดลูกถือว่าเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง ยิ่งในประเทศไทย มะเร็งปากมดลูก คือมะเร็งที่พบได้บ่อยมากในผู้หญิงไทย โดยอยู่ที่อันดับ 5 เพราะว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เยอะ มากที่สุดจากสาเหตุติดเชื้อ HPV โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,422 คนต่อปี หรือ 15 คนต่อวันและมีอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 40% โดยมะเร็งมดลูกเป็นโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งสามารถกลายเป็นเซลล์มะเร็งหากไม่ได้รับการรักษาทันที จึงมีการรณรงค์การตรวจ hvp หรือการตรวจภายในให้ผู้หญิงอยู่บ่อย ๆ
โรคมะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
หลัก ๆ แล้ว โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก ซึ่งเป็นส่วนล่างสุดของมดลูกที่จะเชื่อมต่อกับช่องคลอดโดยตรง โรคนี้ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูก ส่วนมากโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus: HPV) โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อ HPV ก็มีหลายปัจจัยเสี่ยงเช่นการมีคู่นอนหลายคน หรือในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่า
สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?
จริงๆแล้วโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากหลายปัจจัย ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักจะมาจากการติดเชื้อ HPV 16/18 แต่ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้จากการติดเชื้อและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้อีกด้วยดังนี้
- การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus)
เป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น HPV 16 /18 และการติดเชื้อ HPV มักเกิดจากการสัมผัสระหว่างเพศสัมพันธ์
- ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสุขภาพ
เช่นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การมีคู่นอนหลายคนและการไม่ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างเพศสัมพันธ์
- ปัจจัยทางสุขภาพ
ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น การติดเชื้อ HIV มาก่อนแล้วทำให้เป็นสาเหตุมะเร็งปากมดลูกและการสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ปากมดลูกอีกด้วย
- ปัจจัยจากการละเลยสุขภาพ
สำหรับผู้หญิงบางคนที่ไม่เคยรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกประจำปีจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เพิ่มและบางคนที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน HPV รวมถึงการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานก็เป็นอีกสาเหตุในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
โรคมะเร็งปากมดลูกมีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นเหมือนโรคมะเร็งทั่ว ๆ ไปที่จะมีระยะเริ่มแรก ระยะลุกลามและระยะสุดท้ายโดยในมะเร็งปากมดลูกอาการที่พบเจอได้บ่อยนั้น มีดังนี้
- อาการเริ่มต้น (ระยะก่อนเป็นหรือต้นมะเร็ง)
สำหรับอาการเริ่มแรกมะเร็งปากมดลูกจะเหมือนกับการเป็นมะเร็งอื่น ๆ เพราะจะไม่แสดงอาการใด ๆ ที่บ่งชี้ได้ชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแน่นอน แต่ก็สามารถตรวจพบได้ผ่านการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเช่น Pap Smear หรือ HPV DNA
- อาการมะเร็งปากมดลูกเมื่อโรคเริ่มลุกลาม
เมื่อโรคมะเร็งปากมดลูกเริ่มลุกลามแล้วอาการที่จะแสดงออกมาอย่างชัดเจนก็คืออาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด นอกจากนี้ยังมีอาการเลือดออกระหว่างรอบเดือนและสามารถมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์อยู่บ่อย ๆ ได้ด้วย สำหรับในวัยที่หมดประจำเดือนแล้วอาจจะมีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือนได้ซึ่งบ่งชี้ได้ถึงการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
นอกจากมีเลือดออกได้หลายแบบแล้วอาการของมะเร็งปากมดลูกอาจจะเป็นตกขาวผิดปกติเช่นตกขาวมีสีแปลกไป เช่น สีเหลืองเข้ม สีเขียว หรือมีเลือดปนหรือตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ นอกจากนี้อาการที่พอจะบ่งชี้ได้ในระยะลุกลามคือการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์หรือเจ็บบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
- อาการในระยะลุกลามขั้นรุนแรง
ในขั้นรุนแรงอาการของมะเร็งปากมดลูกจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเช่น มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จนผิดปกติและในบางรายจะเจอว่าปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้น
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้เพศหญิงเมื่อมีอายุ 30 ปีควรเข้ารับการตรวจ แต่มีข้อบ่งชี้ว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นในเพศหญิงที่อายุน้อยลงทุกปี ซึ่งแนะนำว่าสามารถเริ่มเข้าไปตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยตรวจทุก ๆ 2 ปีหากตรวจแล้วไม่พบภาวะเสี่ยงเช่นภูมิคุ้มกันบกพร่องสัก 2-3 ครั้ง สามารถมาตรวจในทุก ๆ 3-5 ปีแทนได้แต่สำหรับผู้ที่ตรวจแล้วแพทย์ประเมินว่ามีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแพทย์จะแนะนำให้มาตรวจบ่อยขึ้นในช่วงแรกโดยในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มี 2 วิธีหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันเช่น
- การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกเพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของเซลล์ที่อาจนำไปสู่มะเร็งได้ เหมาะสำหรับผู้หญิงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์แล้วหรืออายุ 21 ปีขึ้นไป และ ควรตรวจทุก 3 ปีในผู้หญิงที่ผลตรวจปกติ
- การตรวจหาเชื้อ HPV ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 เหมาะสำหรับผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรทำร่วมกับการตรวจ Pap Smear แนะนำให้ตรวจเป็นประจำทุก ๆ 5 ปี หากผลตรวจไม่มีความผิดปกติ
วิธีการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
สำหรับวิธีการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้วินิจฉัยเป็นหลัก ว่าควรจะใช้วิธีใดในการรักษาและขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของระยะที่เกิดขึ้นด้วย เช่นหากเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายแพทย์อาจจะใช้หลายวิธีควบคู่กันไป โดยวิธีหลัก ๆ เมื่อพบแล้วว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจะมีดังนี้
1. การผ่าตัด (Surgery)
วิธีนี้จะเหมาะสำหรับมะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ซึ่งการตัดปากมดลูกบางส่วน แพทย์จะใช้สำหรับมะเร็งระยะเริ่มต้นหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งเป็นหลัก โดยตัดเอาเฉพาะส่วนที่มีเซลล์ผิดปกติออกไป และบางคนที่ต้องตัดมดลูกทั้งหมดแพทย์จะใช้ในมะเร็งที่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในปากมดลูก ส่วนการตัดต่อมน้ำเหลืองจะทำเมื่อแพทย์สงสัยว่ามะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
2. การฉายรังสี (Radiation Therapy)
เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงทำลายเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มอยู่ในระยะลุกลามปานกลางแล้วและมักจะใช้ร่วมกับเคมีบำบัดในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งประเภทของการฉายรังสีจะมีการฉายรังสีภายนอก เป็นการฉายรังสีจากภายนอกบริเวณเชิงกรานและการฉายรังสีภายใน เป็นการวางแหล่งรังสีไว้ในปากมดลูก
3. การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
ใช้ยาเคมีบำบัดฆ่าเซลล์มะเร็งหรือที่เรียกกันว่าการทำคีโม ซึ่งจะเหมาะสำหรับมะเร็งระยะลุกลามหรือระยะที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะใช้ร่วมกับการฉายรังสีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ซึ่งในการรักษามะเร็งปากมดลูกใน 3 วิธีนี้ถือเป็นวิธีหลักที่แพทย์จะใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็งการผ่าตัด จะใช้กับเซลล์มะเร็งที่เป็นก้อนใหญ่ หากสามารถผ่าได้จะทำให้ไม่ไปโดนเซลล์อื่น ๆ ปกติ ส่วนการฉายรังสีเป็นการยิงรังสีไปเฉพาะจุดที่มีเซลล์มะเร็งอยู่อาจจะทำให้มีผลข้างเคียงอื่น ๆ เพราะจะไปกระทบกับเซลล์ปกติที่โดนรังสีไปด้วย สุดท้ายการให้ยาเคมีบำบัดหรือคีโมเหมือนการปูพรมฆ่าเซลล์มะเร็งทั้งร่างกาย ที่แพทย์เจอว่าเซลล์ลุกลามและไปบริเวณอื่นเยอะ รังสีเข้าไม่ถึง ซึ่งการใช้คีโมจะทำให้ผมร่วมด้วยและมีผลข้างเคียงมากมาย
โรคมะเร็งปากมดลูก โรคที่ผู้หญิงต้องใส่ใจ
สรุปแล้วโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่เกิดจากสาเหตุหลักคือการติดเชื้อ HPV โดยจะเกิดขึ้นได้ในเพศหญิงที่มีผู้คุ้มกันต่ำ หรือมีเพศสัมพันธ์แบบมีคู่นอนหลายคน และหากไม่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ อาจจะทำให้โรคนี้ร้ายแรงขึ้นได้ โดยโรคมะเร็งปากมดลูกอาการแรกเริ่มจะไม่ได้ชัดเจนมาก เช่นมีเลือดออกพร้อมตกขาว หรือเลือดออกตอนมีเพศสัมพันธ์หรือมีอาการเจ็บอุ้งเชิงกรานเท่านั้น เพราะฉะนั้นการเข้ารับการตรวจคัดกรองอยู่เป็นประจำจึงสำคัญมากสำหรับเพศหญิง ซึ่งในประเทศไทยบางโรงพยาบาลมีการตรวจมะเร็งปากมดลูกฟรี สำหรับคนที่มีอาการต้องลองติดตามข่าวสารดู